วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

กิจกรรมของฉัน

ข้อมูลการติดต่อ

สถานศึกษาในปัจจุบัน



ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์
รหัสโรงเรียน 10 หลัก :
  1091560168
รหัส Smis 8 หลัก :
  91012012
รหัส Obec 6 หลัก :
  560168
ชื่อสถานศึกษา(ไทย) :
  พิมานพิทยาสรรค์
ชื่อสถานศึกษา(อังกฤษ) :
  Phimanpittayasan
ที่อยู่ :
  หมู่ที่   -   บ้าน-
ตำบล :
  พิมาน
อำเภอ :
  เมืองสตูล
จังหวัด :
  สตูล
รหัสไปรษณีย์ :
  91000
โทรศัพท์ :
  074-711086
โทรสาร :
  074711588
ระดับที่เปิดสอน :
 มัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย
วัน-เดือน-ปี ก่อตั้ง :
  2520
อีเมล์ :
  ictphiman@gmail.com
เว็บไซต์ :
เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา :
  สหวิทยาเขตอันดามัน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น :
  สตูล
ระยะทางจากโรงเรียน ถึง เขตพื้นที่การศึกษา:   
  125 กม.
ระยะทางจากโรงเรียน ถึง อำเภอ:   
  7 กม.

มหาลัยที่ใฝ่ฝัน (2)

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา


มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
Songkhla Rajabhat University
ตรามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.gif
สถาปนาพ.ศ. 2462
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐบาล
อธิการบดีผศ.ดร.นิวัติ กลิ่นงาม[1]
นายกสภามหาวิทยาลัยศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา
ที่ตั้งถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา90000
เว็บไซต์www.skru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
 (อังกฤษSongkhla Rajabhat University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล วิทยาลัยครูสงขลา, สถาบันราชภัฏสงขลา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดังเช่นปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2462 ธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราชและธรรมการจังหวัดสงขลา ได้จัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล" ขึ้น เพื่อผลิตครูที่สอนในระดับประถมศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา เรียกว่า "ครูประกาศนียบัตรมณฑล" ต่อมา ในปี พ.ศ. 2468 ธรรมการมณฑลได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลขึ้นโดยเฉพาะ เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลประจำมณฑลนครศรีธรรมราช" เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับ "ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูมูล" หลักจากมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดสงขลา" เมื่อปี พ.ศ. 2477 ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้ย้ายมาตั้งที่อำเภอหาดใหญ่ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลสงขลา" และเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา" ในปี พ.ศ. 2498
ในปี พ.ศ. 2504 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูสงขลา" และสามารถจัดการเรียนการสอนถึงระดับปริญญาตรีในสาขาต่าง ๆ ได้ตาม พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนาม “ ราชภัฏ ” แทนชื่อวิทยาลัยครูทั่วประเทศ ดังนั้น วิทยาลัยครูสงขลา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสงขลา" และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา" เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

  • ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า " SONGKHLA RAJABHAT UNIVERSITY"
  • สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีแดง-ขาว โดย
สีแดง หมายถึง ความรัก ความเข้มแข็ง
สีขาว หมายถึง ความถูกต้อง ความบริสุทธิ์
ดังนั้น สีแดง - สีขาว หมายถึง นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาทุกคนต้องกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามด้วยความบริสุทธิ์ใจ

มหาลัยที่ใฝ่ฝัน (1)

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เว็บย่อ:
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Walailak University
ตรามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.png
ชื่อย่อมวล. / WU
คติพจน์เป็นองค์กรธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้
เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล
(Gateway to Achivement)
สถาปนา29 มีนาคม พ.ศ. 2535
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
อธิการบดีศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (รักษาการ)
นายกสภาศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน
ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
222 ถนนมหาวิทยาลัย หมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
ศูนย์วิทยบริการ จ.สุราษฎร์ธานี
91/1 อาคารพีซีทาวเวอร์ ชั้น 8-9 ถนนกาญจนวิถี หมู่ที่ 1 ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี84000
หน่วยประสานงาน กรุงเทพมหานคร
979/42-46 อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
สีประจำสถาบัน        
แสด-ม่วง
เว็บไซต์www.wu.ac.th
WU.jpg
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (อังกฤษWalailak Universityอักษรย่อ:มวล.) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535[1] มีรูปแบบเป็น “มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล” โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พระราชทานชื่ออันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยได้พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัย (Residential University) ที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแบบครบวงจร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[2] เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล เกิดขึ้นจากชาวนครศรีธรรมราชเริ่มรณรงค์เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2510 กระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2531 ให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคต ซึงต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้ยกเลิกมติเดิม และอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีเป็นชื่อมหาวิทยาลัย ว่า “มหาวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535 ทางมหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
พิธีอัญเชิญตราพระนาม “จ.ภ.”
เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนาม “จ.ภ.” เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย และเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2536 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสำนักงานอธิการบดี และหน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2539 รัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ต่อมาวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พระราชทานชื่อ “อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ” และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าดำเนินงาน ณ ที่ตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชและเปิดการเรียนการสอนวันแรกในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

สัญลักษณ์[แก้]

ตรามหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

เป็นตราสัญลักษณ์ที่อัญเชิญตราพระนามย่อ “จภ” ภายใต้จุลมงกุฎซึ่งเป็นตราพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประดิษฐานที่กึ่งกลาง อักษร “” เป็นสีแสด และอักขระ “” เป็นสีขาว มีพื้นสีม่วงรองรับและมีแพรแถบพื้นสีขาวขอบสีทองรองรับอยู่เบื้องล่างพร้อมอักษรสีม่วง คำว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ประดับอยู่ภายในแพรแถบ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนามของพระองค์มาเป็นตรามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536

สีประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

██ “สีม่วง” เป็นสีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสีประจำพระรัตนธัชมุนี เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ และผู้อำนวยการการจัดการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลปัตตานี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยชาวนครศรีธรรมราชนับถือและยกย่องว่าเป็นผู้จัดการศึกษาสมัยใหม่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ต้นประดู่

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ “ต้นประดู่” (Pterocarpus indicus) ส่วนมากพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ เป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกให้ร่มเงาในเมืองนครศรีธรรมราช เคยปลูกบริเวณศาลาหน้าจวนเจ้าเมือง ซึ่งรู้จักกันในนาม “ศาลาประดู่หก

อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ “บัณฑิตมีความรู้คู่การปฏิบัติ อุตสาหะสู้งาน เก่งด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี มีคุณธรรม” (Walailak graduates have practical intelligence, adversary quotient, liberal arts perspective and technology competence, all integrated with high moral.)
ความรู้คู่การปฏิบัติ” (Practical Intelligence) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ที่เป็นเชิงทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุตสาหะสู้งาน” (Adversary quotient) หมายถึง ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในทุกสถานการณ์ที่บัณฑิตต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็น อุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัว หรือในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความอุตสาหะสู้งานเป็นคุณลักษณะที่จะนำพาบัณฑิตไปสู่ความสำเร็จได้ทั้งในฐานะที่เป็นผู้นำและสมาชิกกลุ่ม
เก่งด้านศิลปศาสตร์” (Liberal arts perspective) หมายถึง การเห็นคุณค่าของมนุษย์ การมีจิตใจอ่อนโยน มีความรอบรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ มีความเข้าใจผู้อื่น มีทักษะการสื่อสาร เข้าใจและยอมรับในสังคมที่มีความหลากหลาย และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม
เก่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” (Science and technology competence) หมายถึง ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าใจและรู้ทันพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่
มีคุณธรรม” (all integrated with moral) หมายถึง ความสามารถทุกด้านที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นจะต้องมีการบูรณาการร่วมกับคุณธรรมและศีลธรรมอันดีงาม บันฑิตจึงจะเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ เป็นศึกษิต แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ “อุทยานการศึกษาแห่งอาเซียน” (Education Park of ASEAN)
อุทยานการศึกษา” (Education Park) หมายถึง แหล่งรวมขององค์ความรู้ที่ผู้แสวงหาความรู้ทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ตามอัธยาศัย โดยเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้
แห่งประชาคมอาเซียน” (of ASEAN) หมายถึง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ซึ่งสามารถเป็นมหาวิทยาลัยของอาเซียนได้ด้วย องค์ความรู้ใดที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้กับทั้งสังคมไทยและประชาคมอาเซียน ในอนาคตมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์คงจะได้สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้น และเป็นการดำเนินแนวทางตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา