มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา | |
---|---|
Songkhla Rajabhat University | |
![]() | |
สถาปนา | พ.ศ. 2462 |
ประเภท | มหาวิทยาลัยรัฐบาล |
อธิการบดี | ผศ.ดร.นิวัติ กลิ่นงาม[1] |
นายกสภามหาวิทยาลัย | ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา |
ที่ตั้ง | ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา90000 |
เว็บไซต์ | www.skru.ac.th |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (อังกฤษ: Songkhla Rajabhat University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล วิทยาลัยครูสงขลา, สถาบันราชภัฏสงขลา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดังเช่นปัจจุบัน
ประวัติ[แก้]
ในปี พ.ศ. 2462 ธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราชและธรรมการจังหวัดสงขลา ได้จัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล" ขึ้น เพื่อผลิตครูที่สอนในระดับประถมศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา เรียกว่า "ครูประกาศนียบัตรมณฑล" ต่อมา ในปี พ.ศ. 2468 ธรรมการมณฑลได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลขึ้นโดยเฉพาะ เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลประจำมณฑลนครศรีธรรมราช" เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับ "ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูมูล" หลักจากมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดสงขลา" เมื่อปี พ.ศ. 2477 ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้ย้ายมาตั้งที่อำเภอหาดใหญ่ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลสงขลา" และเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา" ในปี พ.ศ. 2498
ในปี พ.ศ. 2504 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูสงขลา" และสามารถจัดการเรียนการสอนถึงระดับปริญญาตรีในสาขาต่าง ๆ ได้ตาม พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนาม “ ราชภัฏ ” แทนชื่อวิทยาลัยครูทั่วประเทศ ดังนั้น วิทยาลัยครูสงขลา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสงขลา" และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา" เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
- ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า " SONGKHLA RAJABHAT UNIVERSITY"
- สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีแดง-ขาว โดย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น