การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำคัญอย่างไร?
ขณะนี้สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นฝ่ายบริโภคเทคโนโลยี ไม่ใช่เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยี ฉะนั้นเราจึงเป็นผู้รับที่ต้องคอยรอผู้ ผลิต ต้องตามฟัง ตามดูว่า ผู้ผลิตจะผลิตอะไรใหม่ๆขึ้นมา เพื่อจะรับเอา จึงเป็นผู้ถูกกำหนด ทั้งหมดนี้ก็เพราะเราเป็นผู้ บริโภคของที่ผู้อื่นผลิตและเราผลิตเองไม่ได้
บทนำ
การงานอาชีพและเทคโนโลยีเป็นวิชาที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การอาชีพ และเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในการทำ งานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ แข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง มีความสุข
ครูสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีให้ลูกอย่างไร?
- ฝึกฝนทักษะการทำงาน มุ่งเน้นการทำงานในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม ที่ว่าด้วยงานบ้าน งานเกษตร งานช่าง งานประดิษฐ์ งานธุรกิจ และงานอื่นๆ ฝึกวิธีการทำงานด้วยตนเอง ตั้งแต่การวิเคราะห์งาน การวางแผนทำงาน การปฏิบัติงาน และการประเมินผลการทำงาน ทั้งทำงานเป็นรายบุคคลและทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้เด็กสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมาย และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ด้วยการรู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม มีทักษะในการฟัง-พูด มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน สามารถสรุปผลและนำเสนอรายงาน ดังตัวอย่างกิจกรรมต่อไปนี้
- การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง มุ่งเน้นการฝึกทำงานอย่างสม่ำเสมอ ทำงานให้เกิดผลอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวน การทำงาน ด้วยความสะอาด รอบคอบ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน และเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของงาน เริ่มจากการแต่งกาย การเก็บของใช้ การหยิบจับและใช้ของใช้ส่วนตัว การจัด เตรียมอุปกรณ์การเรียน การทำความสะอาดรองเท้า กระเป๋านักเรียน การทำความสะอาดห้องเรียน การจัดโต๊ะ ตู้ ชั้นในห้อง เรียน
- การทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว เน้นบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบงานบ้านของสมาชิกในบ้าน การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และสร้างลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน มีความกระตือรือร้น ตรงเวลา สามารถจัดสรรเวลาต่างๆให้สมดุลได้ ได้แก่ การจัด วาง เก็บเสื้อผ้า/รองเท้า การเลือกใช้เสื้อผ้า การช่วยครอบครัวเตรียม ประกอบอาหาร การล้างจาน การปัดกวาด เช็ดถูบ้านเรือน เป็นต้น
- เสร้างนิสัยการเป็นผู้ผลิต ผู้สร้างสรรค์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาข้อมูลความรู้ต่างๆ ด้วยการศึกษาค้นคว้า การรวบ รวม การสังเกต การสำรวจ และการบันทึก จัดลำดับความคิดหรือจินตนาการอย่างเป็นขั้นตอน นำไปสู่การวางแผน เกิดความคิด หาวิธีการแก้ปัญหา รู้จักสังเกต วิเคราะห์ สร้างทางเลือก และประเมินทางเลือก เพื่ออธิบายและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้า ใจ เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการแก้ปัญหาและสนองความต้องการอย่างสร้างสรรค์ โดยนำความ รู้มาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยี สร้างสิ่งของเครื่องใช้ วิธีการ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตและกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ดังตัวอย่างกิจกรรมต่อไปนี้
- การศึกษาสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ถูกสร้างมาให้มีรูปร่างแตกต่างกัน ตามหน้าที่ใช้สอย และฝึกฝนการใช้ให้ถูกวิธี ปลอดภัยต่อการทำงาน จนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และถูกต้อง เช่น แปรงสีฟัน หม้อหุงข้าว กรร ไกร ปากกา ดินสอ ฯลฯ
- การสร้างของเล่นหรือของใช้อย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่กำหนดปัญหาหรือความต้องการ รวบรวมข้อมูล ออกแบบ ถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง ๒ มิติ ๓ มิติ ก่อนลงมือสร้างและประเมินผล รวมถึงการนำสิ่งของกลับมาใช้ซ้ำ ลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเอกสารเพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น บัตรอวยพร รายงาน นิทานประกอบภาพ เป็นต้น
- นำเสนอข้อมูลหลากหลายวิธี หลากหลายลักษณะ เช่น นำเสนอหน้าชั้นเรียน จัดทำเอกสาร รายงาน ป้ายประกาศ สื่อคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
- จัดประสบการณ์ในอาชีพต่างๆ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ได้เห็น ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองถนัดและสน ใจ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการทำงานอาชีพ เห็นคุณค่าของงานอาชีพสุจริต และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ เช่น การจัดนิทรรศการ บทบาทสมมติ ฯลฯ อันจะนำไปสู่การรู้จักตนเองด้านความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ ศักยภาพ วิสัยทัศน์ แนว โน้มด้านอาชีพที่ต้องการของตลาดแรงงาน ที่เหมาะสมกับความสนใจ ความถนัด และทักษะทางด้านอาชีพก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น